ตำแหน่ง
ชู้ตติ้งการ์ด
ฉายา
Black
Mamba
ความสูง
6 ฟุต 6 นิ้ว (1.98 ม)
น้ำหนัก
216 ปอนด์ (98 กก.)
สัญชาติ
สหรัฐอเมริกา
วันเกิด
23 สิงหาคม พ.ศ. 2521
ดราฟท์
ลำดับที่ 13 ปี 1996
ผู้เล่นตำแหน่งการ์ดคนแรกในประวัติศาสตร์ที่ได้รับเลือกเข้าสู่
NBA ตั้งแต่จบมัธยมปลาย ไบรอันต์ได้รับเลือกเป็นอันดับที่
13 จากการดร๊าฟรอบแรกโดยทีม Charlotte Hornets ในปี 1996 อย่างไรก็ตาม
ตัวแทนของไบรอันต์ในขณะนั้นเห็นว่าโคบี้ไม่ควรจะเล่นให้กับทีมชาร์ล็อตต์ และชาร์ล็อตต์เองก็คิดที่จะแลกเปลี่ยนตัวผู้เล่นกับทีมเลเกอร์สอยู่แล้ว
ก่อนหน้าการดร้าฟตัวผู้เล่นนั้น โคบี้มีโอกาสได้ร่วมฝึกซ้อมกับทีมในลอสแอนเจลิส
ซึ่งเขาได้ต่อกรในสนามกับอดีตผู้เล่นของเลเกอร์ส คือ Larry
Drew และ Michael
Cooper จนสะดุดตา Jerry West ผู้จัดการทีมในขณะนั้น ในที่สุดเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม
ปี 1996 West ตัดสินใจแลกตัวผู้เล่นเซ็นเตอร์ตัวจริงของทีมเลเกอร์ส
คือ Vlade
Divac ไปให้ทีมฮอร์เน็ตส์
เพื่อแลกกับสิทธิ์ในการดร้าฟตัวไบรอันท์ และเนื่องจากโคบี้เพิ่งอายุได้ 17 ปี
พ่อแม่ของเขาต้องร่วมเซ็นสัญญากับเลเกอร์ส
จนกระทั่งโคบี้สามารถเซ็นสัญญาเองได้เมื่ออายุครบ 18 ปี ก่อนจะเปิดฤดูกาล
ช่วงปีแรกนั้น
ไบรอันท์ต้องเป็นตัวสำรองให้กับการ์ดรุ่นพี่อย่าง Eddie Jones และ Nick Van Exel ในขณะนั้น
โคบี้คือผู้เล่นที่มีอายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ (ปัจจุบันสถิตินี้โดนทำลายโดยเพื่อนร่วมทีมเลเกอร์ส
ชื่อ Andrew Bynum) และยังเป็นผู้เล่นตัวจริงที่อายุน้อยที่สุดที่เคยมีมาด้วย
ในช่วงเริ่มต้นเขาอาจไม่ได้ลงเล่นมากนัก
แต่เมื่อเวลาผ่านไปเขาก็มีโอกาสได้ลงเล่นมากขึ้น เขาจบฤดูกาลแรก (1996-97)
ด้วยเวลาลงสนามเฉลี่ย 15.5 นาทีต่อเกม สร้างชื่อจนกลายเป็นจอมเหินเวลาและขวัญใจของแฟนๆ
ด้วยการคว้าแชมป์ Slam Dunk Contest ได้รับเลือกให้ติดทีมอันดับสองของ NBA All Rookies พร้อมกับเพื่อนร่วมทีม
ชื่อ Travis Knight นาทีสุดท้ายของฤดูกาลนั้นของเขาจบลงด้วยหายนะ
เมื่อชู้ตบอลพลาดแบบไม่โดนห่วง (air ball) ถึง 3 ครั้ง ในช่วงเวลาสำคัญ คือ
ลูกแรกเขาชู้ตสุดท้ายที่จะทำให้ทีมชนะพลาด ก่อนจะหมดเวลาปกติ
ทำให้เกมต้องเข้าสู่ช่วงต่อเวลา และในช่วงท้ายของการต่อเวลายังยิงสามคะแนนพลาดอีก
2 ครั้ง ทำให้ทีมเลเกอร์สต้องตกรอบแรกใน Playoffs ให้กับทีม Utah Jazz หลังการแข่งขัน
ชาคีล โอนีลเพื่อนร่วมทีมในตอนนั้น ให้ความเห็นว่า
"ไบรอันต์เป็นคนเดียวในตอนนั้นที่กล้าพอจะชู้ตลูกเหล่านั้น"
ในปีที่สองของการเล่น
โคบี้ได้โอกาสลงเล่นมากขึ้น
และเริ่มแสดงฝีมือให้เห็นว่าเขาเป็นการ์ดหนุ่มที่มีพรสวรรค์ เขาทำคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าปีแรกจาก
7.6 เป็น 15.4 แต้มต่อเกม เขาได้ลงเล่นมากขึ้นเมื่อเลเกอร์สใช้แผน
"ผู้เล่นตัวเล็ก" ทำให้โคบี้รับตำแหน่งปีกตัวเล็ก (Small Forward) และได้ลงเล่นพร้อมกับการ์ดรุ่นพี่ที่เขาต้องเป็นตัวสำรองให้เป้นประจำ
แม้ว่าจะได้แค่อันดับรองและพลาดตำแหน่งผู้เล่นสำรองยอดเยี่ยม (NBA's Sixth Man of The Year)ไป
แต่ด้วยความนิยมจากแฟนๆ ทำให้เขาได้รับเลือกให้ติดทีมรวมดารา
และกลายเป็นผู้เล่นที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ NBA ที่ได้เป็นตัวจริงในเกมรวมดารา
NBA All-Star ปีนั้น
เพื่อนร่วมทีมของเขาคือ Shaquille O'Neal, Eddie Jones และ Nick Van Exel ก็ได้รับคะแนนเสียงจากแฟนเช่นกัน
ทำให้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1983 ที่มีผู้เล่นจากทีมเดียวกันถึง 4
คนได้ร่วมทีมเดียวกันในเกมรวมดารา คะแนนเฉลี่ย 15.4
คะแนนของโคบี้ยังเป็นคะแนนสูงสุดสำหรับผู้เล่นที่ไม่ได้เป็นตัวจริงของทีมในฤดูกาลปกติอีกด้วย
ในฤดูกาล
1998-99 เขาได้ก้าวขึ้นมาเป็นการ์ดแนวหน้าของลีกอย่างรวดเร็ว
เมื่อการ์ดตัวจริงทั้งสองคน คือ Nick Van Exel และ Eddie Jones ถูกเทรดออกไป
โคบี้ลงเล่นเป็นตัวจริงทุกเกมตลอด 50 เกม ในปีที่ NBA มีปัญหา lockout ระหว่างฤดูกาลนั้น
โคบี้ได้ต่อสัญญากับทีมออกไปอีก 6 ปี เป็นมูลค่า 70 ล้านเหรียญสหรัฐ
ซึ่งทำให้เขาได้อยู่กับทีมเลเกอร์สไปจนถึงฤดูกาล 2003-04
แม้ว่าเขาเพิ่งจะเริ่มอาชีพการเล่นบาสเก็ตบอลได้ไม่นาน แต่สื่อกีฬาต่างๆ ก็เริ่มเปรียบเทียบความสามารถของเขากับผู้เล่นระดับโลกอย่าง
Michael Jordan และ Magic Johnson แล้ว
อย่างไรก็ตาม ใน playoffs ปีนั้น เลเกอร์สก็โดน San Antonio Spurs กวาดเรียบ 4
เกมรวดในเกมรอบชิงชนะเลิศของฝั่งตะวันตก
ในไม่ช้าชะตาชีวิตของไบรอันท์ก็เปลี่ยนไปเมื่อ
Phil Jackson เข้ามารับหน้าที่โค้ชให้กับทีม
ในปี 1999 หลังจากพัฒนาตัวเองมาหลายปี โคบี้กลายมาเป็นผู้เล่นตำแหน่ง Shooting Guard ชั้นแนวหน้า
ได้รับเลือกให้ติดทีม All-NBA, All-Star และ All-Defensive ปีนี้
ลอสแอนเจลิส เลเกอร์ส กลายมาเป็นทีมเต็งที่จะได้แชมป์ ภายใต้การนำทีมของ โคบี้ ไบรอันท์
และ ชาคีล โอนีล ที่ผสมผสานการเล่นของเซ็นเตอร์กับการ์ดได้อย่างยอดเยี่ยม
และด้วยแผนการบุกแบบสามเหลี่ยม (Triangle Offense) ซึ่ง ฟิล แจ็กสัน เคยใช้พาทีม Chicago Bulls คว้าแชมป์ไปแล้วถึง
6 สมัย ก็ทำให้ทั้งสามคนพาทีม เลเกอร์สได้แชมป์ NBA ถึง 3 ปีซ้อน ในปี 2000, 2001 และ 2002
ในฤดูกาล
1999-2000 โคบี้เริ่มต้น ด้วยการพลาดการลงสนามถึง 6
สัปดาห์เมื่อเขาได้รับบาดเจ็บที่มือ ในเกมอุ่นเครื่องก่อนเริ่มฤดูกาลที่แข่งกับทีม
Washington Wizards เมื่อเขากลับมาลงสนามได้
เขาลงเล่นมากกว่า 38 นาทีต่อเกม และทำผลงานเฉลี่ยต่อเกมสูงขึ้น
รวมถึงการเป็นผู้เล่นที่ทำ แอสซิสต์และสตีล สูงสุดของทีมด้วย
คู่หูโอนีลกับไบรอันท์พร้อมด้วยเพื่อนร่วมทีมที่แข็งแกร่งพาทีมชนะถึง 67 เกม
เป็นสถิติการชนะสูงสุดเป็นอันดับ 5 ในประวัติศาตร์ NBA โอนีลได้รับตำแหน่งผู้เล่นทรงคุณค่าในฤดูกาลปกติ
และโคบี้ได้รับเลือกให้ติดทีมผู้เล่นยอดเยี่ยมอันดับสอง (All-NBA Second Team) และ
ทีมรับยอดเยี่ยม (All Defensive Team) เป็นครั้งแรกในชีวิต (เป็นผู้เล่นอายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ที่ได้รับเลือกติดทีมรับยอดเยี่ยม)
ขณะที่ต้องรับบทพระรองของทีมในรอบเพลย์ออฟ ไบรอันต์ก็มีผลงานที่โดดเด่น
รวมถึงการทำ 25 คะแนน 11 รีบาวน์ 7 แอสซิสต์ และ 4 บล็อก ในเกม 7
ของรอบชิงชนะเลิศฝั่งตะวันตก ที่เลเกอร์ส เจอกับ Portland Trail Blazers เขายังเป็นคนส่งบอลทำ
alley-oop ให้กับโอนีลทำให้ทีมชนะผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศด้วย
ในรอบชิงชนะเลิศ พวกเขาต้องพบกับทีม Indiana Pacers ไบรอันต์ได้รับบาดเจ็บที่ข้อเท้าใชช่วงควอเตอร์ที่
2 ของเกมที่ 2 ต้องออกจากการแข่งขัน และไม่ได้ลงเล่นในเกมที่ 3
เมื่อเขากลับมาลงเล่นในเกมที่ 4 ไบรอันต์ทำคะแนนไป 22 คะแนนในครึ่งหลัง
เขาต้องขึ้นเป็นผู้นำทีมเมื่อ โอนีล ทำ ฟาวล์เอ้าท์ ต้องออกจากการแข่งขัน
ในช่วงท้ายของการต่อเวลา โคบี้ชู้ตทำคะแนนสุดท้ายให้ทีมขึ้นนำ 120-118
และด้วยชัยชนะในเกมที่ 6
ทำให้เลเกอร์สได้กลับมาครองแชมป์อีกครั้งเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1988
ถ้าดูตามสถิติแล้ว
ในฤดูกาล 2000-01 โคบี้ทำผลงานได้แทบไม่ต่างกับฤดูกาลก่อนหน้า นอกจากทำคะแนนเฉลี่ยได้มากขึ้นถึง
6 คะแนนต่อเกม (28.5) เป็นอีกปีนึงที่เขาทำแอสซิสต์สูงสุดในทีม
ปีนี้ยังเป็นปีที่ความไม่ลงรอยกันระหว่างโอนีลกับไบรอันต์เริ่มที่จะเปิดเผยมากขึ้น
อย่างไรก็ตามเลเกอร์สก็ยังชนะได้ถึง 56 เกม แม้จะน้อยกว่าปีที่แล้ว 11 เกม
และทำสถิติในรอบเพลย์ออฟด้วยการชนะ 15 แพ้ 1 ด้วยการกวาด Portland Trail Blazers, Sacramento
Kings และ San Antonio Spurs ก่อนที่จะแพ้เกมแรกในรอบชิงชนะเลิศ
กับ Philadephia 76ers ในช่วงต่อเวลา
แล้วกลับมาชนะ 4 เกมรวดคว้าแชมป์สมัยที่ 2 ติดต่อกัน
ไบรอันต์ได้ลงสนามมากกว่าเดิมในช่วงเพลย์ออฟและทำให้ผลงานเฉลี่ยของเขาเพิ่มขึ้นเป็น
29.4 คะแนน 7.3 รีบาวน์ 6.1 แอสซิสต์ต่อเกม และในช่วงเพลย์ออฟนั้นเอง แชคีล โอนีล
เพื่อนร่วมทีมประกาศว่า โคบี้คือผู้เล่นที่ดีที่สุดในเอ็นบีเอ
ไบรอันต์ได้รับเลือกให้ติดทีมยอดเยี่ยมอันดับสอง (All-NBA Second Team) และ ทีมรับยอดเยี่ยม
(NBA All Defensive Team) เป็นปีที่สองติดต่อกัน
และยังได้รับเลือกให้ติดทีมรวมดารา (NBA All-Star) เป็นผู้เล่นตัวจริง
เป็นปีที่สามติดต่อกันด้วย (เว้นปี 1999 ที่ไม่มีการแข่งขัน All-Star)
ในฤดูกาล
2001-02 โคบี้ลงสนามในฤดูกาลปกติถึง 80 เกมเป็นครั้งแรกในอาชีพการเล่น
เขายังคงทำผลงานเฉลี่ยต่อเกม 25.2 คะแนน 5.5 รีบาวน์ 5.5 แอสซิสต์
ซึ่งเป็นการทำแอสซิสต์สูงที่สุดในทีมอีกครั้งนึง
เขาสถิติที่ดีที่สุดในอาชีพการเล่นด้วยการชู้ตที่แม่นยำถึง 46.9%
ได้รับเลือกให้ติด ทีมรวมดารา และ ทีมรับยอดเยี่ยม อีกครั้ง และได้รับเลือกให้ติด
ทีมยอดเยี่ยมอันดับหนึ่ง (All-NBA First Team) เป็นครั้งแรกในชีวิต เลเกอร์สชนะ 58 เกม
เป็นอันดับสองของฝั่งตะวันตก รองจากคู่แข่งร่วมรัฐ คือ ซาคราเมนโต้ คิงส์
ถนนในรอบเพลย์ออฟไม่ได้โรยด้วยกลับกุหลาบสำหรับเลเกอร์สเหมือนปีที่ผ่านมา
แม้พวกเขาจะกวาด พอร์ตแลนด์ในรอบแรก เอาชนะ สเปอร์ส 4-1 เกม แต่พวกเขาเสียเปรียบ
ซาคราเมนโต้ เนื่องจากทำอันดับได้แกว่าตอนฤดูกาลปกติ และต้องกลับไปเล่นที่บ้านของ
ซาคราเมนโต้ ในเกมสุดท้าย เพราะการแข่งขันยื้ดเยื้อไปถึงเกมที่ 7
เป็นครั้งแรกที่เลเกอร์สต้องแข่งถึงเกมสุดท้ายแบบนี้ในรอบชิงชนะเลิศของฝั่งตะวันตก
นับตั้งแต่ปี 2000 อย่างไรก็ตาม
เลเกอร์สก็สามารถเอาชนะและเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศได้เป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน
ในรอบชิงชนะเลิศ ไบรอันท์ ทำคะแนนเฉลี่ย 26.8 แต้ม ด้วยเปอร์เซนต์การชู้ต 51.4%
รีบาวน์ 5.8 ครั้ง และแอสซิสต์ 5.3 ครั้งต่อเกม รวมถึงทำคะแนนรวมเท่ากับ 1 ใน 4
ของคะแนนรวมของทีม ด้วยวัยเพียง 23 ปี
เขากลายเป็นผู้เล่นอายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ที่ได้แชมป์ NBA 3 สมัย
การเล่นของเขาเป็นที่จดจำและยกย่องในการเล่นช่วงควอร์เตอร์ที่ 4 ของเกม
โดยเฉพาะในสองรอบสุดท้ายของเพลย์ออฟ ทำให้เขามีชื่อในการเป็นผู้เล่นที่ทีมพึ่งพาได้ในช่วงเวลาสำคัญ
ผลงานในการแข่งขันบาสเกตบอล
- คว้าแชมป์ nestle crunch slam dunk
- เป็นผู้เล่นที่ทำแต้มมากสุดโดยทำในเกมส์เดียวอันดับสองคือ
81 แต้ม รองจาก Wilt Chamberlain ซึ่งทำได้ 100 แต้ม
- ติด NBA all star ทั้งหมด 11
ครั้ง
- เป็นแชมป์ NBA 4ครั้ง ปี 2000 2001 2002 2009,
- เป็น MVP final 2009
- MVP
2008
- NBA
scoring champion สองครั้ง 2006 2007
- All
NBA first team 7ครั้ง ปี 2002-2004 2006-2009
- All
NBA second team 2ครั้ง ปี 2000 2001
- All
NBA third team 2ครั้ง ปี 1999 2005
- All
defensive first team 7ครั้ง ปี 2000 2003-2004 2006-2009
- All
defensive second team 2ครั้ง ปี 2001 2002
- NBA
all rookie second team 1997
- NBA
all star game MVP 3ครั้ง ปี 2002 2007,2009